วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต

จริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต จริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต หมายถึง ลักษณะการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีคุณธรรม สร้างสรรค์ ไม่เป็นภัยแก่ส่วนรวม ประกอบด้วย ๑. ความมีเหตุผล รู้จักไตร่ตรอง ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ใช้อารมณ์ - ไม่เชื่อใครง่าย ๆ เช่น เชื่อเพื่อนทางอินเตอร์เน็ต ให้ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น ๒. ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง การรักษาคำพูดหรือคำมั่นสัญญา - ไม่พูดปด หรือเขียนข้อความที่เป็นเท็จทางอินเตอร์เน็ต - ไม่ให้ร้ายผู้อื่น ทางอินเตอร์เน็ต ๓. ความเสียสละ การให้ปันแก่ผู้ที่ควรได้รับ ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา มีจิตใจกว้างขวาง ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน - แสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมาด้วยความสุภาพในอินเตอร์เน็ต - ช่วยเพิ่มพูนความรู้ใหม่ลงในอินเตอร์เน็ต ๔. ความสามัคคี ความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การร่วมมือกันทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีความพร้อมเพรียง หรือความปรองดองกัน - รักหมู่คณะ มีใจหวังดี ไม่เขียนข้อความยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยก ๕. ความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย อีกทั้งพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น - รู้หน้าที่ และกระทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี - เอาใจในการทำงานที่ตนรับผิดชอบ ๖. ความกตัญญูกตเวที การรู้บุญคุณและตอบแทนคุณต่อคนอื่นและสิ่งอื่นที่มีบุญคุณ - รู้จักกล่าวขอบคุณ หรือเขียนอวยพรให้แก่ผู้อื่นในอินเตอร์เน็ต ๗. ความอดทนอดกลั้น คือ การรู้จักข่มใจในเวลาที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่เย้ายวนทุกรูปแบบ อันจะทำให้ไม่เกิดความเสียหายหรือถลำลึกลงไปในความชั่วร้าย หรือความทุจริตทั้งปวง - ไม่เข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม - ไม่ทะเลาะกับผู้อื่นในอินเตอร์เน็ต ๘. ความถ่อมตัว การวางตนอย่างเหมาะสม ไม่แสดงตนเหนือผู้อื่น - ไม่เขียนคุยโวโอ้อวดตนเองในอินเตอร์เน็ต